ประวัติความเป็นมาในการสร้าง ของ ไฟนอลแฟนตาซี XII

ระบบแกมบิท

การสร้างเกมไฟนอลแฟนตาซี XII ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544[5] ซึ่ง ยาสุมิ มัตสึโนะ (Yasumi Matsuno) ผู้สร้างไฟนอลแฟนตาซี แทคติกส์ รับหน้าที่เป็นทั้งโปรดิวเซอร์และไดเร็กเตอร์ เพื่อทุ่มเทให้กับการสร้างไฟนอลแฟนตาซี XII แต่เนื่องมาจากปัญหาสุขภาพของเขา[6] ฮิโรยูกิ อิโต้ (Hiroyuki Itō) และ ฮิโรชิ มินางาวะ (Hiroshi Minagawa) จึงเข้าช่วยในงานของไดเร็กเตอร์ ในขณะที่ อากิโทชิ คาวาซึ (Akitoshi Kawazu) แห่งเกมตระกูลซาก้า (SaGa) เป็นหัวหน้าโปรดิวเซอร์ร่วมกับ โยอิจิ วาดะ (Yōichi Wada) ประธานสแควร์เอนิกซ์[7] ทว่าการเสียชีวิตของมัตสึโนะ ได้สร้างความเสียใจให้กับ ฮิโรโนบุ ซากางุจิ ผู้เขียนบทเป็นอย่างมาก ซึ่งเขาปฏิเสธที่จะเล่นไฟนอลแฟนตาซี XII ก่อนที่จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการ[8]

ความคิดที่จะยกเลิกระบบศัตรูที่ปรากฏตัวออกมาแบบสุ่ม ในระหว่างการเดินทางในดันเจี้ยนหรือนอกเมือง ซึ่งเป็นแนวคิดดั้งเดิมของเกม RPG ได้ถูกผลักดันขึ้นตั้งแต่แรกในกระบวนการพัฒนา[9] ซึ่งแนวคิดนี้เองได้นำไปสู่การพัฒนาระบบการต่อสู้แบบรอบทิศทาง ซึ่งทำให้ผู้เล่นสามารถสำรวจเส้นทางได้ โดยที่ไม่ถูกซีนการต่อสู้มาขัดขวาง ระบบแกมบิท (ตัวละครแต่ละตัวมีหน้าที่เฉพาะ ในสถานการณ์ต่างๆ) ได้นำมาเป็นส่วนแก้ปัญหาในจุดนี้[9] อิโต้ ได้แนวความคิดระบบแกมบิท มาจากการเล่นอเมริกันฟุตบอล ที่ผู้เล่นแต่ละคนจะมีหน้าที่เฉพาะ ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป รวมไปถึงการออกแบบระบบใบอนุญาต (licenses) ที่มีที่มาจากการที่ดัลมัสก้าถูกราชอาณาจักรอาร์เคเดียยึดครอง จึงต้องทำตามกฎที่เข้างวดของราชอาณาจักรอาร์เคเดีย[9]

วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เพื่อเป็นการโปรโมทไฟนอลแฟนตาซี XII ทางสแควร์เอนิกซ์จึงได้แถมแผ่นเดโมของเกมนี้ ไปกับแผ่นเกมดราก้อนเควสต์ VIII รุ่นที่ออกวางขายในอเมริกาเหนือ[10] ซึ่งในระหว่างการพัฒนาเป็นภาษาอังกฤษ อเล็กซานเดอร์ โอ สมิท (Alexander O. Smith) ที่เคยทำงานในเกม วาแกรนต์สตอรี่ (Vagrant Story) และไฟนอลแฟนตาซี X ทำหน้าที่เป็นทั้งโปรดิวเซอร์และนักแปล[11] รวมไปถึงอยู่เบื้องหลังในการตรวจสอบความหมายในบทภาษาญี่ปุ่นซึ่งเขียนโดย ไดสุเกะ วาตานาเบะ (Daisuke Wanatabe) และ มิวะ โชดะ (Miwa Shōda) สมิทได้ตัดสินใจที่จะใช้ภาษาอังกฤษในสำเนียงที่หลากหลาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในพื้นที่[12][13] รวมไปถึงการขัดเกลาสำนวนให้เป็นธรรมชาติ อีกทั้งยังรองรับระบบไวด์สกรีน 16:9 และมีมาตรฐานการจัดระดับเกมที่เล่นได้ในทุกระดับอายุ (CERO rating) [14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไฟนอลแฟนตาซี XII http://www.1up.com/do/newsStory?cId=3148802 http://arstechnica.com/reviews/games/ff12.ars http://www.ff12.com/ http://www.g4tv.com/xplay/reviews/1292/Final_Fanta... http://gamepro.com/sony/ps2/games/reviews/85008.sh... http://www.gamespot.com/news/2005/08/01/news_61301... http://www.gamespot.com/ps2/rpg/finalfantasy12/new... http://www.gamespot.com/ps2/rpg/finalfantasy12/rev... http://ds.ign.com/articles/733/733945p1.html http://ps2.ign.com/articles/638/638050p1.html